จึงเชื่อมั่นได้ว่า IBC เลือกสรร "เบี้ยประกันภัยต่ำ ความคุ้มครองสูง บริการประทับใจ"
 
การประกันภัยรถยนต์ ( Car Insurance) 

ไม่มีใครสามารถรู้เหตุการณ์ล่วงหน้า แต่ทุกครั้งที่คุณขับรถ คุณสามารถอุ่นใจได้เพราะรู้ว่าตลอดเส้นทางของการใช้รถ ทั้งชีวิต และทรัพย์สินอันมีค่าของท่านจะได้รับความคุ้มครองจากการทำประกันภัยรถยนต์

การประกันภัยรถยนต์  แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ การประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ และ การประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ

 

 การประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ

การประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ เป็นการประกันภัยที่ใครอยากทำก็ทำ ไม่มีการบังคับกัน การเลือกซื้อประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจนี้เป็นการตกลงกันระหว่างผู้ซื้อ (ผู้เอาประกัน) และผู้ขาย (บริษัทประกันภัย) โดยสามารถเลือกซื้อความคุ้มครองได้ตามความต้องการและกำลังเงินที่มีอยู่ และเพื่อสร้างความเป็นธรรมให้กับผู้ทำประกันภัยที่ขับรถดี มีความระมัดระวัง ในการขับขี่และมีความเสี่ยงภัยในการใช้รถต่ำ กรมการประกันภัยจึงได้ปรับปรุงโครงสร้าง การประกันภัยรถยนต์ใหม่ ให้สอดคล้องกับระบบสากลโดยนำเอา ปัจจัยเกี่ยวกับตัวผู้ขับขี่ ลักษณะการใช้รถ กลุ่ม ขนาด และอายุรถ ฯลฯ มาเป็นองค์ประกอบในการคำนวณเบี้ยประกันภัย 

ประเภทของกรมธรรม์ภาคสมัครใจ
การประกันภัยรถยนต์ มีความคุ้มครองให้เลือก 3 ประเภทคือ 

ประเภท 1 (ชั้น 1) ให้ความคุ้มครองครอบคลุมมากที่สุด คือ

  • ความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก และผู้โดยสารในรถ
  • ความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก
  • ความรับผิดต่อความเสียหายของตัวรถยนต์คันเอาประกันภัย
  • ความรับผิดต่อความสูญหายและไฟไหม้ของตัวรถยนต์คันเอาประกันภัย

ประเภท 2 (ชั้น 2) ผู้ทำประกันภัยประเภทนี้จะได้รับความคุ้มครอง

  • ความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก และผู้โดยสารในรถ
  • ความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก
  • ความรับผิดต่อความสูญหายและไฟไหม้ของตัวรถยนต์คันเอาประกันภัย

ประเภท 3 (ชั้น 3) ซึ่งเป็นประเภทที่ให้ความคุ้มครองเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอกดังนี้

  • ความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก และผู้โดยสารในรถ 

ความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก

1. 

การประกันประเภท 1
ให้ความคุ้มครองความเสียหายต่อรถยนต์ และต่อบุคคลภายนอก (ทั้งบุคคล และทรัพย์สินที่ได้รับความเสียหาย)

2. 

การประกันประเภท 2
ให้ความคุ้มครองความเสียหายต่อบุคคลภายนอก และความสูญหาย/ไฟไหม้ของตัวรถยนต์ (ทั้งตัวบุคคล และทรัพย์สินที่ได้รับความเสียหาย)

3. 

การประกันประเภท 3
ให้ความคุ้มครองความเสียหายเฉพาะต่อบุคคลภายนอกเท่านั้น (ทั้งตัวบุคคล และทรัพย์สินที่ได้รับความเสียหาย)

 

ความคุ้มครอง

ความคุ้มครอง

ประเภท 1

ประเภท 2

ประเภท 3

คุ้มครองตาม พ.ร.บ. ผู้ประสบภัยจากรถ
-   ความบาดเจ็บ
-   เสียชีวิต




คุ้มครองรถยนต์คันที่เอาประกันภัย
-   กรณีเสียชีวิต สูญสียอวัยวะ ทุพพลภาพถาวร
ต่อคนขับ และผู้โดยสาร
-   ค่ารักษาพยาบาลต่อคนขับและผู้โดยสาร
-   ประกันตัวผู้ขับขี่ (ในกรณีเกิดคดีอาญา)
-   ความเสียหายต่อตัวรถยนต์
-   รถยนต์สูญหาย หรือไฟไหม้



















คุ้มครองความรับผิดชอบต่อบุคคลภายนอก
-   รับผิดชอบต่อความบาดเจ็บหรือเสียชีวิต
-   รับผิดชอบต่อทรัพย์สิน







 
การประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ (พ.ร.บ.)

การประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ หรือที่คนส่วนใหญ่เรียกกันว่า “ประกัน พรบ.” การประกันภัยชนิดนี้ เป็นการประกันภัยที่กฏหมายบังคับให้รถทุกคัน ทุกประเภท ต้องทำประกันภัย ใครไม่ทำมีความผิดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พศ. 2535 ต้องถูกปรับเป็นเงินไม่เกิน 10,000 บาท การประกันภาคบังคับจะให้ความคุ้มครองความรับผิดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ในความเสียหายต่อชีวิต และร่างกาย หรืออนามัยของผู้ประสบภัยจากรถทุกคน ไม่ว่าผู้ประสบภัยนั้นจะเป็นใครก็ตาม ดังนี้

1.

กรณีบาดเจ็บ แต่ไม่ถึงขั้นสูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพ ชดใช้ตามความเสียหายที่แท้จริง แต่ไม่เกิน 50,000 บาท

2. 

กรณีบาดเจ็บ ถึงขั้นสูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพ หรือเสียชีวิต ชดใช้เต็มจำนวนความคุ้มครองสูงสุด 80,000 บาท


รถที่ต้องทำประกันภัย 
คือ รถทุกคันทุกประเภทที่จดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบก เป็นยานพาหนะทุกชนิดที่ใช้ในการขนส่งทางบกซึ่งเดินด้วยกำลัง เครื่องยนต์และหมายรวมถึงรถพ่วงของรถนั้นด้วย

ผู้ที่ได้รับความคุ้มครอง 
ประชาชนทุกคนที่ประสบภัยจากรถ ไม่ว่าจะเป็น ผู้ขับขี่รถ ผู้โดยสาร คนเดินเท้า คนข้ามถนน ซึ่งได้รับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัย เนื่องจากรถหรือสิ่งที่บรรทุกหรือติดตั้งไว้ในรถ ทั้งนี้รวมถึงทายาทโดยธรรมของผู้ประสบภัยซึ่งถึงแก่ความตายด้วย โดยจะได้รับค่าชดใช้ค่าเสียหายตามกฏหมายนี้ทั้งสิ้น 

เงื่อนไขความคุ้มครอง
ได้รับความเสียหายต่อร่างกาย หรืออนามัย แต่ไม่สูญเสียอวัยวะหรือทุพพลภาพ บริษัทจะจ่ายค่ารักษาพยาบาล และค่าเสียหายอย่างอื่นที่ผู้ประสบภัยสามารถเรียกร้องได้ตามมูลละเมิด ตามความเสียหายจริงแต่ไม่เกิน 50,000 บาทต่อหนึ่งคน

1. ได้รับความเสียหายต่อร่างกาย หรืออนามัย บริษัทจะจ่ายเต็มตามจำนวนเงินคุ้มครองสูงสุด 80,000 บาทต่อหนึ่งคน

1.1. ตาบอด 
1.2. หูหนวก 
1.3. เป็นใบ้ หรือเสียความสามารถในการพูด หรือลิ้นขาด 
1.4. สูญเสียอวัยวะสืบพันธุ์ 
1.5. เสียแขน ขา มือ เท้า หรืออวัยวะอื่นใด 
1.6. จิตพิการอย่างถาวร 
1.7. ทุพพลภาพอย่างถาวร

2. ในกรณีเสียชีวิต บริษัทจะจ่ายเต็มตามจำนวนเงินคุ้มครองสูงสุด 80,000 บาทต่อหนึ่งคน

3. ในกรณีได้รับความเสียหายตามข้อ 1 และต่อมาได้รับความเสียหายตามข้อ 2 หรือ 3 หรือทั้งตาม ข้อ 2 และ 3 บริษัทจะจ่ายเต็มตามจำนวนเงินคุ้มครองสูงสุด 80,000 บาทต่อหนึ่งคน

  ข้อควรรู้
การโอนรถ กรณีที่รถที่เจ้าของได้เอาประกันภัยไว้กับบริษัทประกันภัย ได้โอนไปยังบุคคลอื่น ให้ผู้ได้มาซึ่งรถดังกล่าวมีฐานะเสมือนเป็นผู้เอาประกันภัยตามกรมธรรม์นั้น และบริษัทประกันต้องรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวต่อไปตลอดอายุของกรมธรรม์ประกันภัยที่ยังเหลืออยู่ 

 

 

ปัจจัยสำคัญในการคำนวณเบี้ยประกันภัยรถยนต์

 

ลักษณะของการใช้รถยนต์เป็นตัวกำหนดความเสี่ยงภัย รถยนต์รับจ้างย่อมมีความเสี่ยงภัยมากกว่ารถยนต์เพื่อใช้ในการพาณิชย์ หรือส่วนบุคคล

ชนิด/ขนาด และอายุของรถยนต์ (โดยเฉพาะยี่ห้อ และรุ่นของรถยนต์นั่งไม่เกิน 7 ที่นั่ง อัตราเบี้ยประกันภัย จะขึ้นอยู่กับราคาอะไหล่ และค่าซ่อมเป็นตัวกำหนด)

อายุของผู้ขับขี่ สำหรับส่วนลดเบี้ยประกันภัยในการประกันแบบระบุชื่อผู้ขับขี่ของรถยนต์นั่ง รถยนต์โดยสาร และรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล โดยระบุได้ไม่เกิน 2 คน

จำนวนเงินเอาประกันภัย หรือทุนประกันภัย

 

 

 

เงื่อนไขในการพิจารณารับประกันภัย

 

ผู้เอาประกันภัยจะต้องเป็นเจ้าของทรัพย์สิน หรือเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในรถยนต์คันที่เอาประกันภัย

รถยนต์เก๋ง อายุรถไม่เกิน 10 ปี รถยนต์โดยสารไม่เกิน 15 ที่นั่ง และรถยนต์บรรทุก อายุรถไม่เกิน 7 ปี

ทุนประกันภัยไม่ต่ำกว่า 80% ของมูลค่ารถยนต์คันที่เอาประกันภัย

กรณีระบุชื่อผู้ขับขี่ ได้ไม่เกิน 2 คน

ส่วนลดประวัติดี สูงสุด 50 %

กรณีมีสิ่งตกแต่งเพิ่มเติมจากสภาพเดิมของรถ ต้องแจ้งให้บริษัทฯ ทราบ